แพทย์อินเทิร์น คือแพทย์ที่เรียนจบใหม่ของมหาวิทยาลัยรัฐ จะต้องเป็นเพทย์ใช้ทุนที่ต่างจังหวัด ระยะเวลาประมาณ 3 ปี หากไม่ใช้ทุนตามที่กำหนดหรือลาออกก่อน ต้องใช้เงินคืนรัฐ กรณีแพทย์อินเทิร์นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ บางส่วนเชื่อว่าขับรถขณะร่างกายอ่อนเพลียจากการปฏิบัติงาน เหตุการณ์นี้แพทยสภาจะขอประสานข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางที่อาจช่วยป้องกันได้ในอนาคต

แพทย์อินเทิร์น เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์

แพทย์อินเทิร์น ปี 1 ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ พ่อผู้เสียชีวิตฝากถึงผู้บริหาร จัดตารางเวรแพทย์ให้สอดคล้องกับสภาพร่างกาย หลังมีบางส่วนเชื่อว่าขับรถขณะร่างกายอ่อนเพลียจากการปฏิบัติงาน

นายนิธาน สืบเชียง บิดาของหมอมีน แพทย์อินเทิร์น เล่าเหตุการณ์หลังหมอมีนเข้าเวรวันที่ 22 มิ.ย. เวลา 16.00 น. ก็ขับรถออกจากโรงพยาบาล มุ่งหน้า อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี ไปดูสถานที่ของสถานพยาบาลสมเด็จพระบารมี และโรงพยาบาลหนองปรือ เพราะตั้งใจที่จะไปปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์อินเทิร์นปี 2 ที่โรงพยาบาล 1 ใน 2 แห่งนี้ ก่อนประสบอุบัติเหตุ

แต่กรณีแพทย์อินเทิร์นเข้าเวรติดต่อกันหลายกะ เหมือนที่มีการกล่าวอ้างหรือไม่นั้นไม่ทราบ แต่ในฐานะพ่อ อยากจะฝากไปถึงผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงโรงพยาบาล ดูแลจัดตารางเวรหมอทุกคนให้เหมาะสม ไม่ให้ทำหน้าที่ติดต่อกันจนร่างกายเหนื่อยล้า แต่ยังเชื่อว่าสาเหตุอาจมาจากเรื่องไม่ชำนาญเส้นทางมากกว่าความอ่อนเพลีย

อาลัย “หมอมีน”

เลขาธิการแพทยสภา โพสต์อาลัย “หมอมีน” แพทย์อินเทิร์นจบใหม่เพิ่งทำงานได้ 23 วัน ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหลังจากลงเวร เตือนหมอหลังลงเวรถ้าง่วงอย่าขับรถเอง

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2566 พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Ittaporn Kanacharoen ร่วมอาลัย “หมอมีน อินเทิร์น 1… 23 วัน”

โดยระบุว่า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว ในการจากไปของน้องหมอมีน พญ.ญาณิศา สืบเชียง แพทย์จบใหม่ 2566 เพิ่งเริ่มปฏิบัติงานในตำแหน่ง แพทย์เพิ่มพูนทักษะ (แพทย์อินเทิร์น) โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ชน 4 คัน หลังจากลงเวร ขอบคุณทีมพี่ๆ โรงพยาบาลที่พยายามช่วยเหลือน้องอย่างสุดความสามารถ หลังได้รับการส่งตัวเข้าโรงพยาบาล

แพทยสภาประสานงานข้อมูลเพื่อหาแนวทางแก้ไข

แพทยสภา จะขอประสานข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานอย่างไรหรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางที่อาจช่วยป้องกันได้ในอนาคต แต่เบื้องต้นทราบว่าเกิดเหตุที่แยกที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ มอตาเขียว และเกิดในช่วงเย็น อยากให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยสำรวจพื้นที่ถนน และการจราจรด้วย พร้อมกันนี้ ต้องขอฝากเตือนหมอและแพทย์อินเทิร์นทุกท่าน หลังลงเวร ถ้าง่วงอย่าขับรถเอง ถ้าจำเป็นต้องงีบก่อนฝืนไปไม่คุ้มเลย มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย อันตรายจริงๆ

สำหรับหมอมีน แพทย์อินเทิร์น อยู่ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของ จ.ราชบุรี กว่าจะเป็นหมอ 1 คน ต้องทุ่มเทเรียนเป็นเวลา 6 ปี นับเป็นการสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าของประเทศอย่างยิ่ง ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวอีกครั้ง

สำหรับกำหนดการงานศพพระอภิธรรมของน้อง พญ.ญาณิศา สืบเชียง (หมอมีน) สวดอภิธรรมศพ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้ ศาลา 1) โดยกำหนดสวดพระอภิธรรม วันที่ 24-28 มิ.ย.นี้ เวลา 19.30 น. และจากนั้นจะมีพิธีฌาปนกิจศพ 29 มิ.ย.นี้ เวลา 16.00 น.

แพทย์อินเทิร์น

แพทย์อินเทิร์น ผู้ขับเคลื่อนวงการ สธ.ไทย

แพทย์อินเทิร์น หรือหมอจบใหม่ใช้ทุน คือ นักเรียนแพทย์ที่เรียนหลักสูตรแพทยศาสตร์จบ 6 ปี จากนั้นจะมีทางเลือก 2 ทางหลักๆ

  1. เป็นแพทย์อินเทิร์น เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์การรักษาคนไข้ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนับเป็นการใช้ทุนคืนให้แก่รัฐไปในตัว
  2. ไม่เป็นแพทย์อินเทิร์น โดยการเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางในสาขาที่ขาดแคลนและมีข้อยกเว้นไม่ต้องเป็นอินเทิร์น หรือ อาจจะเลือกเรียนต่อต่างประเทศ แต่ต้องยอมจ่ายเงินราว 400,000 บาท หรือเรียกให้เข้าใจว่าค่าฉีกสัญญาอินเทิร์น

แต่หากใครเป็นแพทย์อินเทิร์นแล้วอยากลาออก ก็ทำได้ เงินค่าฉีกสัญญาก็ลดหลั่นกันไป เช่น หมอใช้ทุน 1 ปี (เป็นอินเทิร์นมาแล้ว 1 ปี) เมื่อลาออกมา ก็ใช้ทุนคืนเป็นเงินแทน ประมาณ 200,000 บาท

เหตุผลที่ยกให้แพทย์อินเทิร์น คือผู้ขับเคลื่อนวงการแพทย์ไทย เพราะเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนทั้งระบบ

  1. หมอที่ไม่อยากเป็น “หมอจับฉ่าย” ก็จะหาทางเรียนต่อเฉพาะทาง แต่เมื่อเรียนจบกลับมา ก็ต้องพ่วงด้วยตำแหน่งด้านบริหาร งานสอน งานเอกสาร เพราะ “ระบบคนไม่พอ” ทำให้ไม่มีเวลาเจอคนไข้ เพราะต้องทำงานบริหารโรงพยาบาล การรักษาคนไข้ก็ไปตกอยู่ที่แพทย์อินเทิร์น
  2. การเป็นแพทย์เฉพาะทาง ทำให้มีทางเลือกให้ตัวหมอคนนั้นๆ เองมากขึ้น สามารถเลือกเข้าเวรได้ ไม่จำเป็นต้องทำงาน 8.00-17.00 น. และเข้าเวรนอกเวลาต่อ แต่คนไข้ไม่ได้ป่วยตามเวลาราชการ งานก็ไปตกอยู่ที่แพทย์อินเทิร์นอีก
  3. โรงพยาบาลรัฐ หรือ โรงพยาบาลประจำอำเภอ มีบุคลากรไม่เพียงพอ หมอจบใหม่บางคนเข้ามาอยู่ไม่นาน ก็ถูกดันขึ้นไปรับตำแหน่งรอง ผอ. บ้างก็มี ก็วนเข้าลูปเดิม ไปทำงานบริหาร และคนไข้ก็ตกอยู่ที่แพทย์อินเทิร์นอีก
  4. หากวันนี้แพทย์อินเทิร์นลดลง การรักษาคนไข้จะวนกลับไปหาแพทย์เฉพาะทาง แต่แพทย์เฉพาะทางจะชำนาญเฉพาะเรื่องนั้นๆ การรักษาคนไข้ด้วยอาการทั่วไป อาจมีความเสี่ยงที่จะวินิจฉัยโรคให้คนไข้ผิดพลาดสูงกว่าสมัยที่ยังไม่ได้เรียนเฉพาะทาง คำตอบคือส่งผลเสียทั้งตัวหมอและคนไข้ทั้งคู่
  5. คนเรียนหมอคือเรียนเป็นหมอ ไม่ได้เรียนเป็นนักบริหาร แต่ระบบกลับผลักให้พวกเขาต้องทำงานในสายงานที่ไม่เคยถูกสอนมา ก็จะเป็นผู้บริหารที่ไม่ชำนาญเท่าการรักษา ส่งผลต่อบุคลากรในโรงพยาบาลนั้นๆ อีก

ระดับขั้นในวิชาชีพแพทย์

1. นักศึกษาแพทย์

ทุกอาชีพและทุกวิชาชีพเริ่มต้นจากการเป็นนักเรียนก่อนเสมอ วิชาชีพแพทย์ก็เหมือนกัน จุดเริ่มต้นคือการเป็นนักศึกษาแพทย์ (นศพ.) ก่อน 6 ปี
  • ช่วง 3 ปีแรกจะเรียนภาคทฤษฎี มีภาคปฏิบัติน้อยมาก(แต่ขึ้นอยู่กับสถาบันแต่ละแห่ง)
  • ส่วนปีที่ 4 – 6 นั้นจะเริ่มปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลของรัฐที่ตนสังกัดอยู่เช่น รพ.รามาธิบดี, รพ.ศิริราช, รพ.จุฬาลงกรณ์ หรือรพ.ราชวิถี(นักศึกษาแพทย์ของม.รังสิต) เป็นต้น จุดสังเกตของน้องๆ นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้คือ จะใส่เสื้อกาวน์ยาวแขนสั้นคลุมชุดนักศึกษาที่อยู่ข้างในอีกทีนึง กระเป๋าเสื้อจะมีปักคำว่า “นศพ.” นำหน้าชื่อ สีของชื่อใช้สีเขียว เนื่องจากเป็นสีสัญลักษณ์ของแพทย์
  • ส่วนนักศึกษาแพทย์ปี 6 ก็จะมีคำเรียกเฉพาะครับคือ เอ๊กซ์เทริ์น (Extern) พวกน้องๆเขาจะใส่เสื้อกาวน์สั้นระดับสะโพกเท่านั้น และจะไม่มีคำว่า นศพ.นำหน้าชื่อแล้ว แต่ก็ไม่มี “นพ. พญ.” นำหน้านะครับ เพราะน้องๆเขายังถือว่าเป็นนักศึกษาอยู่

2. แพทย์ใช้ทุน (อินเทิร์น, Intern )

หลังจากที่เรียนกับจบก็ถึงเวลาออกไปทำงานกันแล้ว ใครที่จบจากโรงเรียนแพทย์ของรัฐถือว่าติดหนี้ค่าเทอมที่รัฐบาลช่วยเหลือ ต้องออกไปเป็นแพทย์ใช้ทุนที่ต่างจังหวัด ได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ใบประกอบโรคศิลป์) กันเรียบร้อยแล้ว เป็นช่วงที่ออกไปฝึกหาประสบการณ์ทำงานแบบบินเดี่ยวมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีอาจารย์แพทย์และแพทย์ใช้ทุนรุ่นพี่ คอยดูแลคอยให้คำปรึกษา

โดยทั่วไปแพทย์อินเทิร์นนี้กินเวลา 3 ปี แต่บางคนอาจจะออกมาก่อน ใส่เสื้อกาวน์สั้นที่เสื้อมีปักชื่อ นพ. และพญ. กันเรียบร้อย มีความรู้ความสามารถและเจตคติความเป็นแพทย์ครบครัน แต่เป็นช่วงฝึกความชำนาญในการตรวจให้มากขึ้น

ระบบการใช้ทุนอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นใบเบิกทางสู่การเรียนต่อเฉพาะทาง โดยส่วนมากการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาส่วนใหญ่แพทย์ผู้สมัครเรียนจะต้องมีประสบการณ์การใช้ทุนมาก่อนอย่างน้อย 1 ปี บางสาขาต้องใช้ทุนครบ 3 ปี แต่บางสาขาซึ่งเป็นสาขาขาดแคลนไม่จำเป็นต้องใช้ทุนมาก่อน

ส่วนแพทย์ที่จบจากสถาบันเอกชน สมัยก่อนมีม.รังสิตแห่งเดียว ขณะกำลังจะเปิดอีก 2 แห่ง ไม่ได้ติดหนี้ของรัฐบาลเพราะโดนค่าหน่วยกิตไปเต็มๆ เพราะฉะนั้นจบออกมาก็ไม่มีภาระหนี้ที่จะต้องไปใช้ทุนคืน แต่ก็สามารถไปสมัครร่วมกับแพทย์ใช้ทุนได้ตามปกติ เพียงแต่จะเรียกว่าโครงการเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งเป็นแค่คำที่ต่างกัน แต่ทำหน้าที่เหมือนกับแพทย์ใช้ทุนทุกประการ เพราะงั้นคำว่าแพทย์ใช้ทุนกับแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ก็คือคนคนเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้วแพทย์ใช้ทุนจะอยู่ที่โรงพยาบาล่างจังหวัด แต่ก็มีโรงพยาบาลในกรุงเทพบางแห่งที่รับสมัครแพทย์ใช้ทุน

3. แพทย์ประจำบ้าน (เรสซิเด้นท์, Resident)

คือแพทย์ที่เรียนจบแล้ว และตัดสินใจกลับมาเรียนต่อในสาขาที่สนใจ หรือเรียกง่ายๆ ว่ามาเรียนต่อเฉพาะทางนั่นเอง แพทย์กลุ่มนี้คือแพทย์เต็มตัวเช่นกัน เพียงแต่กลับมาสู่ระบบการเรียนอีกครั้งหนึ่ง โดยที่ยังมีความเป็นแพทย์อยู่ครบครัน แต่จะเห็นบ่อยๆ ว่าถูกอาจารย์ตำหนิเรื่องความรู้บ้างอะไรบ้างบ่อยๆ ไม่ใช่ว่าไม่เก่งหรือไม่อะไร เพียงแต่มันคือกระบวนการหล่อหลอมเพื่อไปสู่ความเป็นเฉพาะทาง

การเรียนการสอนจะเข้มงวดกว่าเป็นนักศึกษาแพทย์เยอะ จะพบเห็นแพทย์กลุ่มนี้ในโรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ใส่เสื้อกาวน์สั้นมีตราประจำโรงพยาบาล มีคำว่า “นพ. พญ.” นำหน้า โดยทั่วไปการอบรมแพทย์ประจำบ้านใช้เวลา 3 – 4 ปีแล้วแต่สาขา

ที่มาที่ไปของคำว่าแพทย์ประจำบ้าน เพราะว่าแพทย์ที่มาเรียนส่วนใหญ่จะต้องใช้ชีวิต 90% อยู่ในบ้าน (โรงพยาบาล) ของตัวเอง เลยถูกเรียกว่า resident หรือแพทย์ประจำบ้าน

4. แพทย์ประจำบ้านต่อยอด (เฟลโล่ชิป, Fllowship)

คือแพทย์ประจำบ้านที่จบการเรียนต่อเฉพาะทางแล้วสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่ในสาขานั้นๆ ยังคงมีเจาะลึกลงไปอีกเป็นระบบๆ ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือสาขาอายุรศาสตร์ มีสาขาต่อยอดขึ้นไปอีกเช่นอายุรศาสตร์โรคหัวใจ อายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น การเรียนต่อยอดนี้เป็นสิ่งที่มีเฉพาะในโรงเรียนแพทย์ทั้งในกรุงเทพและส่วนภูมิภาคเท่านั้น สุดท้ายแล้วเมื่อจบการเป็น fellowship ก็เรียกว่าเฉพาะทางของเฉพาะทางแล้ว ที่เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ เช่น หมอโรคหัวใจ หมอโรคระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น อันนี้คือผ่านการเป็น fellowship โดยทั่วไปการเป็น fellowship ใช้เวลา 2 – 3 ปีแล้วแต่สาขา

5. อาจารย์แพทย์

คือจุดสูงสุดในวิชาชีพแพทย์ แต่ต้องเป็นอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ของรัฐบาลเท่านั้นนะที่เรียกว่า “อาจารย์จริงๆ ”

สรุปก็คือ นักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน  แพทย์ประจำบ้านต่อยอด อาจารย์แพทย์

 

แพทย์ที่เหนื่อยล้าจากการทำงาน อาจส่งผลจนทำให้เกิดความผิดพลาด และทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น กรณีที่แพทย์อินเทิร์น เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ ที่คาดว่าจมาจากร่างกายอ่อนเพลียจากการปฏิบัติงาน หวังว่าทางแพทยสภาจะหาแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาต่างๆ ได้โดยเร็ว และขอเป็นกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อที่จะทำให้ทั้งแพทย์ได้ทำงานอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และผู้ป่วยก็ไม่เสียโอกาสที่จะได้รับการบริบาลเมื่อมีความต้องการหรือมีความจำเป็นจริงๆ

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่  macha-bint-maya.com

สนับสนุนโดย  ufabet369